ดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย ห่างไกล “RSV”
ดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย ห่างไกล “RSV”
- เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี โดยเฉพาะเด็กทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจทำให้เด็กหยุดหายใจได้
- เด็กที่มีโรคประจำตัวเช่นภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะขาดสารอาหาร
- เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
ติดเชื้อ RSV จะมีอาการอย่างไร ?
-
ไข้สูง
-
ไอถี่
-
หายใจหอบเหนื่อย
-
หายใจมีเสียงหวีดหวิว
-
เสียงครืดคราดในลำคอ
-
ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หูอักเสบ ไซนัสหรือปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเป็น RSV
แพทย์สามารถตรวจได้จากน้ำมูก ซึ่งจะตรวจพบเชื้อ RSV เพียงร้อยละ 53-96 ของผู้ป่วยทีติดเชื้อ RSV การตรวจทำได้ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีความจำเป็นต้องตรวจทุกรายเพราะการตรวจพบหรือไม่พบเชื้อ RSV ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรักษา แต่ช่วยในการแยกผู้ป่วยเพื่อลดการแพร่กระจายโรค [1]
- โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นาน 3-8 วันหลังมีอาการป่วยแต่อาจนานถึง 3-4 สัปดาห์ในเด็กเล็กหรือเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- หากพบว่าเด็กมีอาการป่วย ควรให้หยุดเรียนจนกว่าอาการจะหายหรืออย่างน้อย 5-7 วัน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
- หากเด็กมีไข้สูง ไม่กิน ไม่เล่น หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจมีเสียงหวีด เซื่องซึม ผู้ปกครองควรจะพามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
- ให้เด็กดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เสมหะเหนียว
- เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นได้อีกหลายครั้ง เนื่องจากไวรัส RSV มี 2 สายพันธุ์ และกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ
- ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อ RSV ได้แต่อาการมักไม่รุนแรงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว [1]
- ทุกคนในบ้านหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือของตนเองและลูกน้อย เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV และเชื้ออื่นๆที่ติดมากับมือทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก
- หลีกเลี่ยงเด็กทั้งสบายดีหรือป่วยไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด
- ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ
- ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่า
- ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำมากๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
- ออกกำลังกายในอากาศที่ถ่ายเท เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง
- สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ
เอกสารอ้างอิง
แพทย์หญิง กิจจาวรรณ เฮงคราวิทย์ และรองศาสตราจารย์(พิเศษ)นายแพทย์ ทวี โชติพิทยสุนนท์. (2566). โรคติดเชื้ออาร์เอสวี RSV, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ. เบญจวรรณ สังฆวะดี แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์ โรคระบบทางเดินหายใจ
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์กุมารเวชกรรม